วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การแต่งกายของคนญี่ปุ่น

วัฒนธรรมการแต่งกายของคนญี่ปุ่น
  ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น มีฝนตกเนื่องจากมีภูมิประเทศเป็นเกาะ เสื้อผ้าที่สวมใส่จึงต้องให้ความอบอุ่น เรียกว่า “กิโมโน” ซึ่งเป็นเสื้อคลุมยาวถึงเท้า แต่ปัจจุบันแต่ง กายแบบสากลนิยมตะวันตก เนื่องจากกิโมโนมีราคาแพง และไม่สะดวกต่อการทำงานประจำวัน จึงแต่งเฉพาะโอกาสพิเศษวันฉลองครบรอบ 20 ปี ของหนุ่มสาว หรือในพิธีแต่งงาน มีผ้าคาดเอว ของสตรี เรียกว่า “โอบิ” ทำให้ดูไม่รุ่มร่าม มีสีตัดกับกิโมโน สวมถุงเท้า เรียกว่า “ทาบิ” รองเท้า เรียกว่า “โซบิ”
  ชุดกิโมโนในสมัยโบราณจริง ๆ จะสวมทับกันหลายชิ้น โดยเฉพาะตระกูลขุนนางจะสวม ถึง 12 ชิ้น แต่ปัจจุบันจะสวมทับกันเพียง 2 – 3 ชิ้น เท่านั้น
  เครื่องแต่งกาย นอกจากกิโมโนแล้วยังมีเครื่องแต่งกายอื่นอีก เช่น
1. เสื้อแฮปปี้ เป็นเสื้อชิ้น นอกสีดำ สำหรับคนงานแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน
2. เสื้อฮาโอริ เป็นเสื้อชิ้น นอกสีดำเช่นกัน จะมีลวดลายเป็นสีขาวหรือเครื่องหมาย นามสกุล
3. เสื้อฮะกามา เป็นเสื้อที่มีรูปร่างคล้ายกางเกงขากว้าง ใช้ในงานพิธี
4. ยูกาตะ (Yukata) เป็นกิโมโนชนิดหนึ่งทำจากผ้าฝ้าย ใส่ได้ทั้งชายและหญิง สีไม่สด เป็นชุดที่ใส่อยู่กับบ้านหลังจากอาบน้ำเสร็จแล้ว ต่อมาได้มีการนำชุดยูกาตะมาใส่ในงานประเพณี และเทศกาลในฤดูร้อน ทำให้มีลวดลายสีสันขึ้น ชุดผู้หญิงจะมีสีสันมากกว่าชาย
5. โกโซเดะ (Kosode) เป็นชุดกิโมโนของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว เป็นชุดกิโมโนแขนยาว ธรรมดา “ฟูริโวเดะ” เป็นกิโมโนของหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานมีแขนยาวกว้างเป็นพิเศษ
       
     ตัวอย่างของชุดที่คนญี่ปุ่นแต่ง

 ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/07_16.html

ประวัติของภาษาญี่ปุ่น

   ก่อน พ.ศ.900 ภาษาญี่ปุ่นไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง หลังจากนั้นเริ่มปรับปรุงอักษรจีนมาใช้ คาดว่าผ่านมาทางเกาหลี ครั้งแรกภาษาญี่ปุ่นเขียนด้วยอักษรจีนโบราณ หรือรูปแบบผสมระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ตัวอย่างของรูปแบบผสมเช่นโกจิกิ (บันทึกประวัติศาสตร์) เขียนเมื่อ พ.ศ. 1255 พวกเขาเริ่มใช้รูปแบบอักษรจีนเขียนภาษาญี่ปุ่น ในรูปอักษรพยางค์ใบไม้หมื่นใบ
    เมื่อเวลาผ่านไป ระบบการเขียนแบบใช้อักษรจีน เขียนคำยืมจากภาษาจีน หรือคำในภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายใกล้เคียงกัน รูปแบบอักษรจีนยังใช้แทนการออกเสียงในการเขียนไวยกรณ์ และต่อมากลายเป็นอักษรแทนพยางค์ 2 ชนิดคือ ฮิระงะนะ และคะตะคะนะ
   วรรณคดีญี่ปุ่นปรากฎขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1600 เช่น เรื่องเล่าแห่งเคนจิโดย มูราซากิ ชิกิบุ
ภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่เขียนด้วยรูปแบบผสมของฮิระงะนะ คะตะคะนะร่วมกับคันจิ หนังสือสมัยใหม่จะรวมโรมาจิ (อักษรโรมัน) ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับการเขียนภาษาญี่ปุ่นด้วยอักษรโรมัน คำที่ไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นเขียนด้วยอักษรของภาษานั้นหรือสัญลักษณ์ที่เรียกคิโกะ(kigo)
   ในปัจจุบัน นอกจากจะมีการพูดภาษาญี่ปุ่นกันในประเทศญี่ปุ่นแล้วในต่างประเทศ เช่นจีนแผ่นดินใหญ่ คาบสมุทรเกาหลี และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกก็มีการใช้ภาษาญี่ปุ่นด้วย ซึ่งเป็นผลที่ทางรัฐบาลญี่ปุ่น บังคับสอนภาษาญี่ปุ่นให้แก่พวกเขาในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้แล้ว ยังมีผู้อพยพและลูกหลานของชาวญี่ปุ่น ซึ่งได้อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮาวาย เปรู อาร์เจนตินา บราซิล ชิลี หลังสงครามอีกจำนวนหนึ่งที่ยังคงสามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้อยู่ ถึงแม้ว่าลูกหลานของพวกเขาจะไม่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้ก็ตาม

ที่มา : http://www.jat-languagecafe.com/newsite/highlight/display.php?id=350

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประโยคบอกเล่าในภาษาญี่ปุ่น

ประโยคบอกเล่าในภาษาญี่ปุ่น มี 3 ประเภท

  1.「ประธาน」+ は +「คำนาม」+ です
  2.「ประธาน」+ は +「คุณศัพท์」+ です
  3.「ประธาน」+ が +「กริยา」+ ます


ตัวอย่างคันจิที่ใช้ในประโยค


  私         = Watashi         = ฉัน
  大学生  = Daigakusei    = นักศึกษา
  象         = Zou                = ช้าง
  桜         = Sakura           = ซากุรา
  親切     = shinsetsu       = ใจดี
  子供     = Kodomo         = เด็ก
  友達     = Tomodachi     = เพื่อน
  本         = Hon                = หนังสือ
  日本人  = Nihonjin         = คนญี่ปุ่น
  居         = i                      = อยู่
  泣き      = naki                = ร้องไห้
  大きい   = ookii               = ใหญ่
  小さい   = chiisai             = เล็ก


    ตัวอย่างประโยค







การทักทาย

 การทักทายแบบภาษาญี่ปุ่น
   おはようございます。สวัสดีตอนเช้า(เจอกันครั้งแรกของวันก็ได้)
(โอะฮะโย โกซะอิมัส)

    こんにちは。สวัสดีตอนกลางวัน
(คนนิจิวะ)



    こんばんは。สวัสดีตอนเย็น
(คมบังวะ)



   おやすみなさい。ราตรีสวัสดิ์/ฝันดีนะ
(โอยาซึมินะไซ หรือ โอยาซึมิ)


   さようなら。ลาก่อน
(ซาโยนะระ)

ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่น

ตัวอักษรในญี่ปุ่นจะมีด้วยกัน 3 ประเภท
1. ฮิรางานะ (Hiragana)
  ประกอบด้วยตัวอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว แต่ละตัวจะมีเสียงอ่านในตัวอักษรนั้น เช่น に(ni) ほ(ho) ん(n) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น にほん(nihon) ซึ่งมีความหมาย คือ ญี่ปุ่น

2. คาตาคานะ (Katakana)
  ประกอบด้วยตัวอักษร 46 ตัว เช่นเดียวกับฮิรางานะ และอ่านออกเสียงเหมือนกัน เพียงแต่มีวิธีการเขียนแตกต่างกับฮิรางานะเท่านั้น
คาตาคานะมักจะใช้แทนคำที่ทับศัพท์มากจากภาษาต่างชาติ เช่น テ(te) レ(re) ビ(bi) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น テレビ(terebi) ซึ่งเป็นการทับศัพท์และย่อให้กระชับจากคำว่าโทรทัศน์ (televison) เป็นต้น

3. คันจิ (Kanji)
  เป็นตัวอักษรจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้ดัดแปลงบางส่วนให้กระชับขึ้น มีทั้งสิ้นประมาณ 5,000 ตัว แต่ที่ใช้โดยทั่วไปมีประมาณ 1,800 ตัว แต่ละตัวจะมีความหมายและวิธีอ่านออกเสียงเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เริ่มศึกษาใหม่อาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะจำตัวคันจิเบื้องต้นประมาณ 50-100 ตัว