วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

การบอกวันและเวลา

การบอกวันและเวลาในภาษาญี่ปุ่น

「สรรพนามบอกวันเวลา」+ は +「วันเวลา」+ です。

หมายเหตุ
วัน เวลา และคำสรรพนามบอกเวลา เป็นคำนามชนิดหนึ่ง สามารถนำไปเป็นประธานในประโยคคุณศัพท์และประโยคกริยาได้เช่นเดียวกัน เช่น


今日 は 暑い です
Kyou wa atsui desu
วันนี้ร้อนครับ/ค่ะ

20分 が 過ぎます
Nijuppun ga sugimasu
20 นาทีผ่านไปครับ/ค่ะ

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับเวลา มีค่อนข้างมาก และมีหลายคำที่อ่านออกเสียงต่างกับปกติ จึงต้องใช้เวลาในการท่องจำพอสมควร





ประโยคบอกจำนวนและตัวเลข

มีรูปแบบการใช้งาน คือ「ประธาน」+ は +「จำนวน/ตัวเลข」+ です。

หมายเหตุ
ตัวเลข จำนวน และคำลักษณะนาม มีสถานะเป็นคำนามชนิดหนึ่ง สามารถนำไปเป็นประธานในประโยคคุณศัพท์และประโยคกริยาได้เช่นเดียวกัน เช่น


十個 は 多い です
Jukko wa ooi desu
สิบชิ้นมาก(ไป)ครับ/ค่ะ

二人 が 座ります
Futari ga suwarimasu
สองคนนั่งครับ/ค่ะ

คำลักษณะนามในภาษาญี่ปุ่นมีเป็นจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลาท่องจำนานพอสมควร



คำยอดฮิต



คำยอดฮิตที่มักจะยินบ่อยๆ โดยเฉพาะในหนังรัก
เช่น เวลาที่คู่รักต้องพลัดพลาดจากกัน หรือ เวลาต้องไปเรียนเมืองนอก แยกจากกัน เป็นต้น
ไม่จำเป็นต้องใช้กับคู่รักอย่างเดียว  ใช้กับพ่อแม่ เพื่อน สัตว์เลี้ยง ฯลฯ

離れ離れ (になる)
hanare banare (ni naru)
ฮะนะเระ บะนะเระ (นิ นะหรุ)
พลัดพลาดจากกัน, อยู่ห่าง(ไกล)กัน
get separated




การนับเลข (ต่อ)

ตอนที่2

การนับเลขตั้งแต่1,000

せん sen (เซน) แปลว่า 1,000


ในหลักพัน ก็มีการ เปลี่ยนคำออกเสียง สำหรับ 6000 และ 8000 ให้จำกัน

1,000 せん เซน
2,000 にさん นิ-เซน

3,000 さんぜん ซาน-เซน
4,000 よんせん โย่ง-เซน
5,000 ごせん โก๊ะ-เซน
6,000 ろくせん รค-เซน
**
7,000 ななせん นา-นะ-เซน
8,000 はっせん หัด-เซน **
9,000 きゅうせん คิว-เซน


เลขก็ผสมเหมือนเดิม

1,919 せんきゅうひゃくじゅうきゅう
sen kyuhyaku juukyu ( เซนคิวเฮียคุจูโก๊ะ )

4,321 よんせんさんびゃく に じゅういち
yonsen sanhyaku nijuuichi ( โย่งเซนซานเฮียคุนิจูอิจิ )

6,669 ろくせんろっぴゃくろくじゅうきゅう
roksen roppyaku rokujuu kyu ( รคเซนรปเปียคุโระคุจูคิว )

9792 きゅうせんななひゃくきゅうじゅうに
kyusen nanahyaku kyujuuni ( คิวเซนนานะเฮียคุคิวจูนิ)



การนับเลข

ตอนที่1

แค่เราจำเลข1-10ได้ก็ง่ายแล้ว

1 いち ichi ( อิจิ )
2 に ni ( นิ )
3 さん san ( ซาน )

4 よん yon ( โย่ง )
5 ご go ( โก๊ะ )
6 ろく roku ( โระคุ )
7 なな nana ( นานะ )
8 はち hachi ( ฮะจิ )
9 きゅう kyu ( คิว )
10 じゅう juu ( จู )



ต่อไปแค่เรานำเลขมาผสมกันก็พอ 

ตัวอย่าง 10 ( じゅう ) + 1 ( いち) = 11 ( じゅういち )
12 じゅうに juuni ( จูนิ )
13 じゅうさん juusan ( จูซาน )
14 じゅうよん juuyon ( จูโย่ง )

ถ้าเป็นตั้งแต่20ขึ้นไปก็แค่นำเลข 2 มาไว้หน้า 10 ก็จะกลายเป็น 20 แล้ว

ตัวอย่าง 20 ( に じゅう ) + 1 ( いち ) = 21 ( に じゅういち )

37 さん じゅうなな sanjuunana ( ซานจูนานะ )
45 よんじゅうきゅう yonjuukyu ( โย่งจูคิว )
55 ごじゅうご gojuugo ( โก๊ะจูโก๊ะ )
92 きゅうじゅうに kyujuuni ( คิวจูนิ )

หลักร้อยก็เป็นการผสมเลข เหมือนเดิม แต่จะมี
จุดเปลี่ยน คือ การออกเสียง ของ 300 , 600 , 800


100 ひゃく hyaku ( เฮียคุ )
200 にひゃく nihyaku ( นิเฮียคุ )
300 さんびゃく 
* sanbyaku ( ซานเบียคุ )
400 よんひゃく yonhyaku ( โย่งเฮียคุ )
500 ごひゃく gohyaku ( โก๊ะเฮียคุ )
600 ろっぴゃく
 * roppyaku ( รปเปียคุ )
700 ななひゃく nanahyaku ( นานะเฮียคุ )
800 はっぴゃく
 * happyaku ( ฮัปเปียคุ )
900 きゅうひゃく kyuuhyaku ( คิวเฮียคุ )


หมายเหตุ
เลข 300 * จะเปลี่ยน hyaku ( เฮียคุ ) เป็น byaku ( เบียคุ ) 

เลข 600 * จะเปลี่ยน hyaku ( เฮียคุ ) เป็น pyaku ( เปียคุ ) 
เลข 800 * จะเปลี่ยน hyaku ( เฮียคุ ) เป็น pyaku ( เปียคุ )











วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การแต่งกายของคนญี่ปุ่น

วัฒนธรรมการแต่งกายของคนญี่ปุ่น
  ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น มีฝนตกเนื่องจากมีภูมิประเทศเป็นเกาะ เสื้อผ้าที่สวมใส่จึงต้องให้ความอบอุ่น เรียกว่า “กิโมโน” ซึ่งเป็นเสื้อคลุมยาวถึงเท้า แต่ปัจจุบันแต่ง กายแบบสากลนิยมตะวันตก เนื่องจากกิโมโนมีราคาแพง และไม่สะดวกต่อการทำงานประจำวัน จึงแต่งเฉพาะโอกาสพิเศษวันฉลองครบรอบ 20 ปี ของหนุ่มสาว หรือในพิธีแต่งงาน มีผ้าคาดเอว ของสตรี เรียกว่า “โอบิ” ทำให้ดูไม่รุ่มร่าม มีสีตัดกับกิโมโน สวมถุงเท้า เรียกว่า “ทาบิ” รองเท้า เรียกว่า “โซบิ”
  ชุดกิโมโนในสมัยโบราณจริง ๆ จะสวมทับกันหลายชิ้น โดยเฉพาะตระกูลขุนนางจะสวม ถึง 12 ชิ้น แต่ปัจจุบันจะสวมทับกันเพียง 2 – 3 ชิ้น เท่านั้น
  เครื่องแต่งกาย นอกจากกิโมโนแล้วยังมีเครื่องแต่งกายอื่นอีก เช่น
1. เสื้อแฮปปี้ เป็นเสื้อชิ้น นอกสีดำ สำหรับคนงานแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน
2. เสื้อฮาโอริ เป็นเสื้อชิ้น นอกสีดำเช่นกัน จะมีลวดลายเป็นสีขาวหรือเครื่องหมาย นามสกุล
3. เสื้อฮะกามา เป็นเสื้อที่มีรูปร่างคล้ายกางเกงขากว้าง ใช้ในงานพิธี
4. ยูกาตะ (Yukata) เป็นกิโมโนชนิดหนึ่งทำจากผ้าฝ้าย ใส่ได้ทั้งชายและหญิง สีไม่สด เป็นชุดที่ใส่อยู่กับบ้านหลังจากอาบน้ำเสร็จแล้ว ต่อมาได้มีการนำชุดยูกาตะมาใส่ในงานประเพณี และเทศกาลในฤดูร้อน ทำให้มีลวดลายสีสันขึ้น ชุดผู้หญิงจะมีสีสันมากกว่าชาย
5. โกโซเดะ (Kosode) เป็นชุดกิโมโนของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว เป็นชุดกิโมโนแขนยาว ธรรมดา “ฟูริโวเดะ” เป็นกิโมโนของหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานมีแขนยาวกว้างเป็นพิเศษ
       
     ตัวอย่างของชุดที่คนญี่ปุ่นแต่ง

 ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/07_16.html

ประวัติของภาษาญี่ปุ่น

   ก่อน พ.ศ.900 ภาษาญี่ปุ่นไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง หลังจากนั้นเริ่มปรับปรุงอักษรจีนมาใช้ คาดว่าผ่านมาทางเกาหลี ครั้งแรกภาษาญี่ปุ่นเขียนด้วยอักษรจีนโบราณ หรือรูปแบบผสมระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ตัวอย่างของรูปแบบผสมเช่นโกจิกิ (บันทึกประวัติศาสตร์) เขียนเมื่อ พ.ศ. 1255 พวกเขาเริ่มใช้รูปแบบอักษรจีนเขียนภาษาญี่ปุ่น ในรูปอักษรพยางค์ใบไม้หมื่นใบ
    เมื่อเวลาผ่านไป ระบบการเขียนแบบใช้อักษรจีน เขียนคำยืมจากภาษาจีน หรือคำในภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายใกล้เคียงกัน รูปแบบอักษรจีนยังใช้แทนการออกเสียงในการเขียนไวยกรณ์ และต่อมากลายเป็นอักษรแทนพยางค์ 2 ชนิดคือ ฮิระงะนะ และคะตะคะนะ
   วรรณคดีญี่ปุ่นปรากฎขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1600 เช่น เรื่องเล่าแห่งเคนจิโดย มูราซากิ ชิกิบุ
ภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่เขียนด้วยรูปแบบผสมของฮิระงะนะ คะตะคะนะร่วมกับคันจิ หนังสือสมัยใหม่จะรวมโรมาจิ (อักษรโรมัน) ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับการเขียนภาษาญี่ปุ่นด้วยอักษรโรมัน คำที่ไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นเขียนด้วยอักษรของภาษานั้นหรือสัญลักษณ์ที่เรียกคิโกะ(kigo)
   ในปัจจุบัน นอกจากจะมีการพูดภาษาญี่ปุ่นกันในประเทศญี่ปุ่นแล้วในต่างประเทศ เช่นจีนแผ่นดินใหญ่ คาบสมุทรเกาหลี และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกก็มีการใช้ภาษาญี่ปุ่นด้วย ซึ่งเป็นผลที่ทางรัฐบาลญี่ปุ่น บังคับสอนภาษาญี่ปุ่นให้แก่พวกเขาในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้แล้ว ยังมีผู้อพยพและลูกหลานของชาวญี่ปุ่น ซึ่งได้อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮาวาย เปรู อาร์เจนตินา บราซิล ชิลี หลังสงครามอีกจำนวนหนึ่งที่ยังคงสามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้อยู่ ถึงแม้ว่าลูกหลานของพวกเขาจะไม่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้ก็ตาม

ที่มา : http://www.jat-languagecafe.com/newsite/highlight/display.php?id=350